วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

ในการศึกษาที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำให้ดิฉันได้รู้จักวงจรชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ว่าเป็นแบบไหน ได้รูเกี่ยวกับการนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการศึกษา เช่น ดู้อันตรทัศน์ นำมาใส่สัตว์แต่ละชนิด  ป้ายนิเทศ ตัวหนังสือ ใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสัตว์แต่ละชนิด หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ใช้เพื่อให้ดูว่าสัตว์แต่ละชนิดเป็นแบบไหน หรือ ของจริง ให้ดูการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ การกิน ชนิดของสัตว์  เป็นต้น มีการจัดแสดงท้องทะเลจำลอง โดยการใช้ตู้อันตรทัศน์ขนาดใหญ่  มีสัตว์ของจริง ที่สตาร์ฟไว้

หุ่นจำลองของเต่าทะล




ปลาของจริงในตู้อันตรทัศน์


 
ป้ายนิเทศ ระบบนิเวศหาดทรายและหาดโคลน


ป้ายนิเทศ เที่ยวทะเลอย่างไรให้ปลอดภัย

การแสดงของปลา ให้เหมือนอยู่ใต้ท้องทะเลจริง

สัตว์ของจริงที่ยุ่วในตู้อันตรทัศน์

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา(ภาคพิเศษ) กลุ่ม 404
ศึกษาดูงานที่สถาบันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2555




ศึกษาดูงาน ณ หอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา


สำนักงานหอสมุด ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิต เข้าถึงเว็บไซต์
ของสำนักงานหอสมุดโดยสะดวกสบาย ใช้ระบบ VPN เพื่อให้นิสิตที่ยุ่วนอกมหาวิทยาลัยเข้าใช้งานได้



มีวิทยากรบรรยาย โดยใช้ไมโครโฟนเป็นสื่อในการให้เสียง เพื่อให้นิสิต
เข้าใจมากขึ้น และมีการใช้จอ LCD เป็นภาพฉายแสดง ในการประกอบการบรรยาย


ใช้สื่อวัสดุ เช่นรูปโลก แผนที่ ในการแสดงบอกสถานที่ตั้งของประเทศ



หนังสื่อต่างๆ ใช้เป็นสื่่อในการศึกษาข้อมูล ที่ต้องการทราบเพิ่มเติม
 มีไว้ในเลือกดูหลายประประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสื่อทั่วไป เป็นต้น


คอมพิวเตอร์แบบจอสัมผัส เพื่อให้นิสิตสะดวก รวดเร็วในการเข้า
เว็บไซต์หอสมุด เพื่อใช้บริการยืม-คืน หนังสือ หาข้อมูล มากยิ่งขึ้น



คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทโนโลยีการศึกษา (ภาคพิเศษ) กลุ่ม 404
ศึกษาดูงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2555

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน

1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว

    สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้ คือ


              1) การให้นักเรียนตอบคำถาม โดยใช้สื่อต่างๆเป็นตัวกลาง


              2) การให้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ จากสิ่งที่เห็นบนหนังสือ รูปภาพ หรือสิ่งอื่นๆ แล้วให้นักเรียนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน   


2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ   1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้


 - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน


 - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน


 - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม


- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ


- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ


- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ


- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์


- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน


2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ


                 1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง


                 2) ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่


        3) การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้


1) พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม


2) โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน


3) การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด


4) องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม


5) สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม



3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภทวัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

ตอบ สื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เช่น


                - รูปภาพ สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนได้อีกในครั้งต่อไปเพียงแค่ดูแลรักษาให้ดี


                - แผนภูมิ ก็สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไปได้เช่นกัน


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ

ตอบ แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลัก นามธรรมและรูปธรรม


- ประสบการณ์ตรง โดยการให้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง 


- ประสบการณ์รอง ให้เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้


- ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม


- การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอน


- การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน


- นิทรรศการ จัดแสดงสิ่งของต่างๆ โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกัน


- โทรทัศน์ โดยใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียน ผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน


- ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


- การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์


- ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ


- วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด


การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น



5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้ 3 ประเภท


1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)


2. สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)


3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )



6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้


                1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ


                2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์


                3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 



7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุใดๆซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน



8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นวัสดุสามมิติที่จาลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนามาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ตู้อันตรทัศน์จะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการสอน ตู้อันตรทัศน์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่

         1.6.1 แบบจาลองสภาพสิ่งต่างๆ ลงในตู้หรือในกล่อง โดยตกแต่งให้คล้ายสภาพที่แท้จริง เช่น สภาพหมู่บ้านในชนบท สภาพชีวิตใต้ทะเล หรือจาลองเรื่องราวตอนใดตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ


         1.6.2 แบบกล่องภาพเลือน โดยนาภาพที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน มาผนึกลงบนแถบผ้า ซึ่งม้วนอยู่กับแกนไม้ 2 อัน นาไปใส่ไว้ในกล่องที่เจาะด้านหน้าให้มีช่องใกล้เคียงกับขนาดภาพ


        1.6.3 แบบกล่องประกอบการแสดง ใช้สาหรับเล่าเรื่องประกอบการแสดง เหมาะสาหรับนักเรียนกลุ่มเล็กๆ โดยเตรียมตัวแสดงไว้เป็นชุดๆ ซึ่งจะเป็นภาพตัดขอบตามลักษณะของภาพ ตัวกล่องจะเป็นเวทีสาหรับจัดแสดงภายในกล่องเป็นแผ่นกระจกเงามีความยาวเท่ากล่อง โดยวางเอียงทแยงมุมกับกล่อง ด้านบนเป็นแผ่นกระจกใสสาหรับวางตัวแสดง โดยคาดว่าหน้าภาพลงบนแผ่นกระจกใสนี้




9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ 1. เตรียมตัวครูและสถานที่ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนำไปใช้จริง เตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง


        2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัสของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจำลองด้วยตนเอง


        3. ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง


        4. ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น


        5. การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติอาจกระทำได้ ดังนี้


                5.1 แสดงให้ดูพร้อมกันทั้งชั้น


                     5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ


                     5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษารายละเอียดเป็นรายบุคคล



10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท

 ตอบ



1.แผนสถิติ


2.แผนภาพ


3.แผนภูม

4.การ์ตูน

5.าพโฆษณา




6.แผนที่และลูกโลก



11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร

ตอบ เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาด ภาพถ่าย และสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจ อยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา ภาพถ่าย การ์ตูน และแผนสถิติ