วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อสารมวลชน

1. สื่่่อสารมวลชนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ มี 6 ประเภท

1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
     2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
     3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
     4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
     5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
     6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

2.คุณค่าของสื่อสารมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษา คือ
   1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
   2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
  3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป  4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ ประเภทคือ       4.1 ความหลากหลาย        4.2 ความทันสมัย       4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที  5. ความสะดวกในการรับ  6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ

ตอบ รายการ ฉลาดล้ำโลก เพราะเป็นรายการที่เกี่ยวกับกับการทดลอง ซึ่งได้ประโยชน์ได้หาข้อเท็จจริง ความเป็นไปได้
 


แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง

ตอบ การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ


2. การใช้ Facebook เป็นการคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook

ตอบ facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ้งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื้อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ 


3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ 1. ระบบ DSTV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU- Band

         2. ระบบ CATV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ ในเขตของกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง

4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ  ประโยชน์ จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม

ตอบ การ ส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ไปถึงทุกโรงเรียนเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ แก้ปัญหาอาทิเช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกรียติจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ปีที่ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สอนเรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์ อีกด้วย

6. ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน weblog












วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

ในการศึกษาที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำให้ดิฉันได้รู้จักวงจรชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ว่าเป็นแบบไหน ได้รูเกี่ยวกับการนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการศึกษา เช่น ดู้อันตรทัศน์ นำมาใส่สัตว์แต่ละชนิด  ป้ายนิเทศ ตัวหนังสือ ใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสัตว์แต่ละชนิด หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ใช้เพื่อให้ดูว่าสัตว์แต่ละชนิดเป็นแบบไหน หรือ ของจริง ให้ดูการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ การกิน ชนิดของสัตว์  เป็นต้น มีการจัดแสดงท้องทะเลจำลอง โดยการใช้ตู้อันตรทัศน์ขนาดใหญ่  มีสัตว์ของจริง ที่สตาร์ฟไว้

หุ่นจำลองของเต่าทะล




ปลาของจริงในตู้อันตรทัศน์


 
ป้ายนิเทศ ระบบนิเวศหาดทรายและหาดโคลน


ป้ายนิเทศ เที่ยวทะเลอย่างไรให้ปลอดภัย

การแสดงของปลา ให้เหมือนอยู่ใต้ท้องทะเลจริง

สัตว์ของจริงที่ยุ่วในตู้อันตรทัศน์

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา(ภาคพิเศษ) กลุ่ม 404
ศึกษาดูงานที่สถาบันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2555




ศึกษาดูงาน ณ หอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา


สำนักงานหอสมุด ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิต เข้าถึงเว็บไซต์
ของสำนักงานหอสมุดโดยสะดวกสบาย ใช้ระบบ VPN เพื่อให้นิสิตที่ยุ่วนอกมหาวิทยาลัยเข้าใช้งานได้



มีวิทยากรบรรยาย โดยใช้ไมโครโฟนเป็นสื่อในการให้เสียง เพื่อให้นิสิต
เข้าใจมากขึ้น และมีการใช้จอ LCD เป็นภาพฉายแสดง ในการประกอบการบรรยาย


ใช้สื่อวัสดุ เช่นรูปโลก แผนที่ ในการแสดงบอกสถานที่ตั้งของประเทศ



หนังสื่อต่างๆ ใช้เป็นสื่่อในการศึกษาข้อมูล ที่ต้องการทราบเพิ่มเติม
 มีไว้ในเลือกดูหลายประประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสื่อทั่วไป เป็นต้น


คอมพิวเตอร์แบบจอสัมผัส เพื่อให้นิสิตสะดวก รวดเร็วในการเข้า
เว็บไซต์หอสมุด เพื่อใช้บริการยืม-คืน หนังสือ หาข้อมูล มากยิ่งขึ้น



คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทโนโลยีการศึกษา (ภาคพิเศษ) กลุ่ม 404
ศึกษาดูงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2555

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน

1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว

    สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้ คือ


              1) การให้นักเรียนตอบคำถาม โดยใช้สื่อต่างๆเป็นตัวกลาง


              2) การให้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ จากสิ่งที่เห็นบนหนังสือ รูปภาพ หรือสิ่งอื่นๆ แล้วให้นักเรียนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน   


2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ   1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้


 - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน


 - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน


 - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม


- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ


- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ


- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ


- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์


- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน


2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ


                 1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง


                 2) ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่


        3) การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้


1) พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม


2) โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน


3) การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด


4) องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม


5) สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม



3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภทวัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

ตอบ สื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เช่น


                - รูปภาพ สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนได้อีกในครั้งต่อไปเพียงแค่ดูแลรักษาให้ดี


                - แผนภูมิ ก็สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไปได้เช่นกัน


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ

ตอบ แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลัก นามธรรมและรูปธรรม


- ประสบการณ์ตรง โดยการให้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง 


- ประสบการณ์รอง ให้เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้


- ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม


- การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอน


- การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน


- นิทรรศการ จัดแสดงสิ่งของต่างๆ โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกัน


- โทรทัศน์ โดยใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียน ผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน


- ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


- การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์


- ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ


- วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด


การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น



5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้ 3 ประเภท


1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)


2. สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)


3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )



6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้


                1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ


                2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์


                3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 



7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุใดๆซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน



8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นวัสดุสามมิติที่จาลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนามาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ตู้อันตรทัศน์จะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการสอน ตู้อันตรทัศน์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่

         1.6.1 แบบจาลองสภาพสิ่งต่างๆ ลงในตู้หรือในกล่อง โดยตกแต่งให้คล้ายสภาพที่แท้จริง เช่น สภาพหมู่บ้านในชนบท สภาพชีวิตใต้ทะเล หรือจาลองเรื่องราวตอนใดตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ


         1.6.2 แบบกล่องภาพเลือน โดยนาภาพที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน มาผนึกลงบนแถบผ้า ซึ่งม้วนอยู่กับแกนไม้ 2 อัน นาไปใส่ไว้ในกล่องที่เจาะด้านหน้าให้มีช่องใกล้เคียงกับขนาดภาพ


        1.6.3 แบบกล่องประกอบการแสดง ใช้สาหรับเล่าเรื่องประกอบการแสดง เหมาะสาหรับนักเรียนกลุ่มเล็กๆ โดยเตรียมตัวแสดงไว้เป็นชุดๆ ซึ่งจะเป็นภาพตัดขอบตามลักษณะของภาพ ตัวกล่องจะเป็นเวทีสาหรับจัดแสดงภายในกล่องเป็นแผ่นกระจกเงามีความยาวเท่ากล่อง โดยวางเอียงทแยงมุมกับกล่อง ด้านบนเป็นแผ่นกระจกใสสาหรับวางตัวแสดง โดยคาดว่าหน้าภาพลงบนแผ่นกระจกใสนี้




9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ 1. เตรียมตัวครูและสถานที่ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนำไปใช้จริง เตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง


        2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัสของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจำลองด้วยตนเอง


        3. ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง


        4. ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น


        5. การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติอาจกระทำได้ ดังนี้


                5.1 แสดงให้ดูพร้อมกันทั้งชั้น


                     5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ


                     5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษารายละเอียดเป็นรายบุคคล



10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท

 ตอบ



1.แผนสถิติ


2.แผนภาพ


3.แผนภูม

4.การ์ตูน

5.าพโฆษณา




6.แผนที่และลูกโลก



11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร

ตอบ เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาด ภาพถ่าย และสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจ อยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา ภาพถ่าย การ์ตูน และแผนสถิติ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด


1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง  

ชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง


    4 ประเภท

        1. สื่อโสตทัศน์

        2. สื่อมวลชน

        3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์

        4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ



2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท 



       3 ประเภท

1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย


2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย


3. สื่อประเภทเครื่องเสียง



3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัด 

ประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย

        นักการศึกษาที่ชื่อ เอ็ดการ์ เดล

        ริ่มต้นจากการอธิบายหรือพูด แล้วให้ทดลองกระทำด้วยตนเอง


4. การสื่อสารหมายถึงอะไร

        - เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ  ช่องทาง


        - ระบบเพื่อการติดต่อ  รับส่งข้อมูล ซึ่งกันและกัน


5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย

       สื่อหรือช่องทาง(Media or Channel)

                 เช่น อาจารย์สั่งงานนักเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้ในรูปแบบของ E-Learning


                      อาจารย์เป็นผู้ส่งสาร งานในอิเลิร์นนิ่งเป็นสาร อินเตอร์เป็นสื่อ นิสิตเป็นผู้รับสารโดยการอ่าน


6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ


       - ผู้ส่ง (source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน การเข้ารหัส” (encode) เนื้อหาข่าวสาร และมีสามารถในการปรับระดับของข้อมูลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้รับ

       - ข่าวสาร (message) เนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร


        - ช่องทางในการส่ง (channel)  การส่งข่าวสารโดยการโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใด

ส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น

        - ผู้รับ (receiver) เป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน การถอดรหัส” 

(decode) สารได้ถูกต้อง


 7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง

            1. คำพูด (Verbalisn) 

         2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)

         3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)



        4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)

        5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
        
        6. การไม่ยอมรับ (Inperception)


8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร

           สื่อหรือช่องทาง(Media or Channel)

9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 

1 จาก ข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล


        1. ผู้ส่งสาร คือ ครูบอยผู้ที่มีทักษะความชำนาญความสามารถใน การเข้ารหัส เนื้อหาข่าวสาร การ

ปรับระดับข้อมูลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนักเรียนชั้น ม.1        
      2. ข่าวสาร คือ Grammar

      3. ช่องทางสื่อสาร คือ วีดีทัศน์        
      4. ผู้รับสาร คือ นักเรียนชั้นม.1 ที่ได้รับเนื้อหาการเรียน


10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

                 สื่อประเภทใช้เครื่องฉายและใช้เครื่องเสียง




วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา


ความหมายของนวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
แท็บเล็ตยกชั้นขึ้นอีเลิร์นนิงสร้างนวัตกรรมการศึกษา


ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


ความหมายของเทคโนโลยี


ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)


สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน



นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา
iนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

· E-learning

ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2)แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น





ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลคทรอนิค ระบบดิจิตอลความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทางอุปกรณ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)




ที่มา