วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน

1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว

    สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้ คือ


              1) การให้นักเรียนตอบคำถาม โดยใช้สื่อต่างๆเป็นตัวกลาง


              2) การให้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ จากสิ่งที่เห็นบนหนังสือ รูปภาพ หรือสิ่งอื่นๆ แล้วให้นักเรียนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน   


2. ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

ตอบ   1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้


 - สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน


 - แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน


 - กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม


- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ


- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ


- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ


- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์


- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน


2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ


                 1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง


                 2) ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่


        3) การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้


1) พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม


2) โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน


3) การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด


4) องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม


5) สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่ม



3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภทวัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

ตอบ สื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เช่น


                - รูปภาพ สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนได้อีกในครั้งต่อไปเพียงแค่ดูแลรักษาให้ดี


                - แผนภูมิ ก็สามารถนำมาเก็บไว้ใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อไปได้เช่นกัน


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ

ตอบ แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลัก นามธรรมและรูปธรรม


- ประสบการณ์ตรง โดยการให้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง 


- ประสบการณ์รอง ให้เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้


- ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม


- การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอน


- การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน


- นิทรรศการ จัดแสดงสิ่งของต่างๆ โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกัน


- โทรทัศน์ โดยใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียน ผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน


- ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


- การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์


- ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ


- วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด


การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น



5. สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้ 3 ประเภท


1. สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)


2. สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)


3. สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )



6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา มีดังนี้


                1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ


                2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์


                3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 



7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร
ตอบ วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุใดๆซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน



8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นวัสดุสามมิติที่จาลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนามาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ตู้อันตรทัศน์จะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการสอน ตู้อันตรทัศน์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่

         1.6.1 แบบจาลองสภาพสิ่งต่างๆ ลงในตู้หรือในกล่อง โดยตกแต่งให้คล้ายสภาพที่แท้จริง เช่น สภาพหมู่บ้านในชนบท สภาพชีวิตใต้ทะเล หรือจาลองเรื่องราวตอนใดตอนหนึ่ง ในพุทธประวัติ


         1.6.2 แบบกล่องภาพเลือน โดยนาภาพที่เป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน มาผนึกลงบนแถบผ้า ซึ่งม้วนอยู่กับแกนไม้ 2 อัน นาไปใส่ไว้ในกล่องที่เจาะด้านหน้าให้มีช่องใกล้เคียงกับขนาดภาพ


        1.6.3 แบบกล่องประกอบการแสดง ใช้สาหรับเล่าเรื่องประกอบการแสดง เหมาะสาหรับนักเรียนกลุ่มเล็กๆ โดยเตรียมตัวแสดงไว้เป็นชุดๆ ซึ่งจะเป็นภาพตัดขอบตามลักษณะของภาพ ตัวกล่องจะเป็นเวทีสาหรับจัดแสดงภายในกล่องเป็นแผ่นกระจกเงามีความยาวเท่ากล่อง โดยวางเอียงทแยงมุมกับกล่อง ด้านบนเป็นแผ่นกระจกใสสาหรับวางตัวแสดง โดยคาดว่าหน้าภาพลงบนแผ่นกระจกใสนี้




9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ 1. เตรียมตัวครูและสถานที่ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนำไปใช้จริง เตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง


        2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัสของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจำลองด้วยตนเอง


        3. ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง


        4. ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น


        5. การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติอาจกระทำได้ ดังนี้


                5.1 แสดงให้ดูพร้อมกันทั้งชั้น


                     5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ


                     5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษารายละเอียดเป็นรายบุคคล



10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท

 ตอบ



1.แผนสถิติ


2.แผนภาพ


3.แผนภูม

4.การ์ตูน

5.าพโฆษณา




6.แผนที่และลูกโลก



11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร

ตอบ เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาด ภาพถ่าย และสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจ อยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา ภาพถ่าย การ์ตูน และแผนสถิติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น